Queen Sirikit National Convention Center

Queen Sirikit National Convention Center

Bangkok, Thailand

 

• LEED V4 BD+C: New Construction, Silver Certified, 2023

 

 

โครงการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้รับการรับรอง LEED Version 4 BD+C New construction ระดับ Silver ในปี 2023 โดยเป็นโครงการ Conventional Center แห่งแรกใน Southeast Asia ที่ได้รับ LEED Certify เป็นอาคารศูนย์ประชุมสูง 8 ชั้น พื้นที่รวม 182,746 ตารางเมตร ประกอบด้วยพื้นที่จัดงาน ห้องประชุมย่อย ร้านค้า และศูนย์อาหาร ตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าศูนย์สิริกิติ์ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

 

  1. Location and Transportation ตำแหน่งที่ตั้งโครงการ

โครงการมีทางเดินเชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้า MRT ศูนย์สิริกิติ์เข้าสู่โครงการโดยตรง ทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงโครงการได้ง่ายและสะดวกสบาย มีป้ายรถประจำทางใกล้กับทางเข้าหลักของโครงการ นอกจากนี้ยังออกแบบให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อช่วยลดปริมาณมลพิษจากการเดินทาง เช่น พื้นที่จอดรถพิเศษ Car Pool มีจุดชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ที่จอดจักรยานเพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างทางเลือกในการเดินทางอย่างยั่งยืนให้กับผู้ใช้งานอาคาร

 

  1. Sustainable Site ผังบริเวณและภูมิทัศน์

เนื่องจากโครงการดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่ชุมชน ใกล้กับสวนสาธารณะที่มีผู้คนจำนวนมาก โครงการจึงให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารในช่วงของการก่อสร้าง โดยมีการควบคุมมลภาวะที่เกิดจากการก่อสร้างตลอดการดำเนินการ เช่น การติดตั้งรั้วป้องกันเศษวัสดุ การฉีดพรมน้ำเพื่อดักฝุ่นที่เกิดจากการก่อสร้าง

 

  1. Water Efficiency การประหยัดน้ำ

ด้วยความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรน้ำ โครงการเลือกใช้ก๊อกและสุขภัณฑ์ที่ประหยัดน้ำ เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานจำนวนมากจากการจัดงานใน convention hall ได้โดยไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรเกินความจำเป็น

 

  1. Energy and Atmosphere พลังงานและบรรยากาศ

พลังงานจำนวนมากถูกใช้ในอาคารเพื่อรองรับผู้ใช้งาน โดยเฉพาะระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ถูกใช้ในพื้นที่ convention hall ทำให้โครงการเห็นถึงความสำคัญของการประหยัดพลังงาน โดยส่งเสริมการออกแบบส่ให้อาคารประหยัดพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ High Performance Chiller, Energy Recovery Ventilation หรือการส่งเสริม Lighting Power Density (LPD) Reduction ร่วมกับการคำนวณการใช้พลังงานและติดตามการใช้งานเป็นประจำ เพื่อควบคุมและหาแนวทางในการประหยัดพลังงานให้มากขึ้น

 

  1. Materials and Resources วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง

เนื่องจากกระบวนการก่อสร้างก่อให้เกิดขยะจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นเศษคอนกรีต เหล็ก หรือกระจก จึงดำเนินการควบคุมและนำขยะจากการก่อสร้างไปใช้ประโยชน์ต่อโดยการรีไซเคิล หรือขยะที่ไม่สามารถใช้งานต่อได้ถูกกระจายไปยังที่ที่เหมาะสม โดยโครงการสามารถลดการฝังกลบขยะไปได้มากกว่า 75% จากขยะทั้งหมดที่เกิดจากการก่อสร้าง

 

  1. Indoor Environmental Quality คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร

โครงการให้ความสำคัญกับคุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร จึงมีการควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารตั้งแต่การก่อสร้าง โดยเลือกใช้วัสดุที่มีปริมาณสารระเหยต่ำ (Low VOCs) เพื่อสุขภาพของผู้ใช้งานอาคาร รวมถึงออกแบบอัตราการระบายอากาศ และระบบเติมอากาศ เพื่อควบคุมปริมาณ Outdoor Air ตามมาตรฐาน ASHRAE

 

  1. Innovation นวัตกรรม

เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ตระหนักและเห็นถึงคุณค่าของอาคารที่ออกแบบโดยคำนึงถึงความยั่งยืน โครงการจึงมีการแสดงเป้าหมายด้านความยั่งยืนของโครงการ และข้อมูลอาคารมีการออกแบบเพื่อความยั่งยืนและรักษาสิ่งแวดล้อมในเว็บไซต์

 

 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.qsncc.com/en/about/sustainability-and-standard

เครดิตภาพถ่าย: โครงการ QSNCC

#QSNCC #LEED #LEEDCertified #อาคารเขียว #GreenBuilding #Africvs #แอฟริคัส

S-OASIS

S-OASIS

Bangkok, Thailand

 

• LEED V4 BD+C: Core & Shell, Gold Certified, 2023

 

โครงการ S-OASIS (เอส โอเอซิส) ได้รับการรับรอง LEED Version 4 BD+C Core & Shell ระดับ Gold ในปี 2023 โดย บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เป็นอาคารสำนักงานสูง 35 ชั้น มีพื้นที่รวม 71,617 ตร.ม. ประกอบด้วยพื้นที่สำนักงาน และร้านค้า  ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดี-รังสิต แขวง จอมพล เขต จตุจักร กรุงเทพฯ ใกล้สถานีรถไฟฟ้า MRT สวนจตุจักร มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ดังนี้

 

  1. Location and Transportation ตำแหน่งที่ตั้งโครงการ

โครงการตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้า MRT สวนจตุจักรในระยะเดิน ทำให้ผู้ใช้อาคารเข้าถึงอาคารได้ง่ายจากระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการใช้รถยนต์ประหยัดพลังงาน ด้วยการเตรียมที่จอดรถสำหรับรถยนต์ที่ปล่อยสารพิษต่ำ (Green vehicles) 46 คัน และที่จอดรถยนต์ไฟฟ้า (EV car) พร้อมอุปกรณ์ชาร์จ (EV Charger) 18 คัน ในตำแหน่งที่ใกล้กับทางเข้าอาคารและโถงล็อบบี้มากที่สุด

 

  1. Sustainable Site ผังบริเวณและภูมิทัศน์

โครงการมีสวนที่เชื่อมต่อกับพื้นที่สาธารณะ และสวนหลังคาเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมภายนอกอาคาร สร้างความใกล้ชิดกับธรรมชาติ และยังออกแบบไฟฟ้าแสงสว่างตกแต่งกรอบอาคาร ภูมิทัศน์โดยคำนึงถึงแสงรบกวนชุมชมข้างเคียงในเวลากลางคืนอีกด้วย โดยสามารถปิดอัตโนมัติตั้งแต่หลังเที่ยงคืนถึง 6 โมงเช้าเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและชุมชนโดยรอบ

 

  1. Water Efficiency การประหยัดน้ำ

จากความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรน้ำ โครงการออกแบบวิธีลดการใช้น้ำประปา โดยเลือกใช้ก๊อกน้ำและสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ ควบคู่กับการออกแบบภูมิทัศน์โดยใช้พรรณไม้ท้องถิ่นที่ดูแลง่าย ใช้น้ำน้อย ควบคู่กับระบบรดน้ำต้นไม้ที่มีประสิทธิภาพสูง และมีระบบบำบัดน้ำรีไซเคิลนำมาใช้ประโยชน์ภายในอาคารได้ 48% และภายนอกอาคารได้ 100%

 

  1. Energy and Atmosphere พลังงานและบรรยากาศ

จากการเลือกใช้ระบบกรอบอาคาร ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลประสิทธิภาพสูง รวมถึงหลอดไฟประหยัดพลังงาน ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานอาคารลง 25% จากมาตรฐาน LEED

 

  1. Materials and Resources วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง

โครงการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิล (Recycled Content)  มากกว่า 25% และในช่วงการก่อสร้างโครงการบริหารจัดการขยะจากการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี ทำให้ลดการฝังกลบขยะได้มากกว่า 98% โดยนำขยะไปใช้ซ้ำ บริจาค และนำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้หลังจากเปิดใช้อาคารแล้ว โครงการยังวางแผนให้มีการบริหารจัดการขยะที่เหมาะสม โดยเตรียมพื้นที่สำหรับการแยกขยะประเภทต่างๆ ไว้อย่างเพียงพอ

 

  1. Indoor Environmental Quality คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร

เพื่อเป็นการลดฝุ่นและมลภาวะจากภายนอกอาคาร มีการติดตั้งพรมยาว 3 เมตร ทุกทางเข้า-ออกของอาคาร เพื่อดักจับสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองที่จะเข้ามาในอาคาร ส่วนพื้นที่ภายในทั้งหมดได้มีการออกแบบอัตราการระบายอากาศที่มากกว่ามาตรฐาน ASHARE 62.1-2010 ถึง 30% ผ่านเครื่อง OAU ที่นำอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในอาคารโดยมีการติดตั้งแผ่นกรอง MERV8 ร่วมกับแผ่นกรอง MERV14 ซึ่งสามารถดักจับฝุ่น PM 2.5 ได้มากกว่า 70%  นอกจากนี้โครงการเลือกใช้วัสดุ สี สารเคลือบ กาว และยาแนวที่มีปริมาณสารระเหยต่ำ (Low VOCs) ทั้งหมด เพื่อลดการใช้สารเคมีที่อาจทำลายคุณภาพอากาศ สุขภาพและความสามารถในการทำงานของผู้ใช้งานอาคารรวมถึงสิ่งแวดล้อม

 

  1. Innovation นวัตกรรม

โครงการคำนึงถึงความสะอาดอาคาร และสุขภาพของผู้ใช้อาคารจึงมีแผนควบคุมการติดเชื้อทางอากาศโดยออกแบบให้มีการถ่ายเทอากาศ 5 ครั้ง/ชั่วโมง (air changes per hour) และติดตั้งระบบ UVGI ที่ AHU ทุกตำแหน่งในแต่ละชั้นเพื่อทำให้อากาศที่วนใช้ซ้ำสะอาดมากขึ้น

 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม: https://commercial.singhaestate.co.th/Soasis/leed

เครดิตภาพถ่าย: โครงการ S-Oasis

#S-OASIS #LEED #LEEDCertified #อาคารเขียว #GreenBuilding #Africvs #แอฟริคัส

Park Silom Office Tower

Park Silom Office Tower

Bangkok, Thailand

 

• LEED V4 BD+C: Core & Shell, Gold Certified, 2023

 

โครงการ Park Silom Office Tower ได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED Version 4 BD+C Core & Shell ระดับ Gold ในปี 2023  และสามารถคว้า 3 รางวัลจากเวที International Property Awards ณ สหราชอาณาจักร คือรางวัล Award Winner Best Office Development Asia Pacific, 5 Star Best Office Development Thailand, Award winner Mixed Use Development Thailand และรางวัล “Property development of the year” ประจำปี 2020 จาก Outstanding Property Award London (OPAL) เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บริษัทอสังหาริมทรัพย์และบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมในด้านการออกแบบอาคารสำนักงานและร้านค้าเชิงพาณิชย์ที่ลงตัวที่สุด จากกว่า 600 โครงการที่ได้รับการคัดสรรมาจากทั่วโลก

 

สำหรับอาคารสำนักงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED Version 4 BD+C Core & Shell มีพื้นที่รวม 79,575 ตร.ม. มีสัดส่วนพื้นที่ขาย 55,000 ตร.ม. สูง 39 ชั้น โดย บริษัท นายณ์ แอนด์ อาร์จีพี ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ตั้งอยู่บนถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร มีแนวทางการออกแบบที่คำนึงถึงผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ดังนี้

 

  1. ตำแหน่งที่ตั้งโครงการ

โครงการตั้งอยู่บนพื้นที่ที่พัฒนาแล้วใจกลางย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD: Central business district) เชื่อมต่อโดยตรงกับสถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง และ MRT สถานีสีลม 350 เมตร เป็นการสนับสนุนให้ผู้ใช้อาคารสามารถเข้าถึงอาคารได้สะดวกจากระบบขนส่งสาธารณะ สนับสนุนการใช้รถยนต์ทางเลือกโดยจัดให้มีช่องจอดรถสำหรับรถยนต์ที่ปล่อยสารพิษต่ำ (Low-emitting vehicles) และที่จอดรถยนต์ไฟฟ้า (EV car) พร้อมอุปกรณ์ชาร์จ (EV charger)

 

  1. ผังบริเวณและภูมิทัศน์

แนวความคิดหลักของโครงการคือการเปิดพื้นที่สีเขียวให้ชุมชนสามารถเข้ามาใช้งานได้ จึงมีพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ เชื่อมต่อกับทางเท้ายาวตลอดหน้าโครงการ นอกจากนี้โครงการยังเลือกใช้วัสดุพื้นสีอ่อนที่พื้นที่เปิดโล่ง และพื้นที่ภายนอกทั้งหมดเพื่อลดปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมือง (Heat Island)

 

  1. การประหยัดน้ำ

ในงานภูมิสถาปัตยกรรม โครงการเลือกใช้พันธุ์ไม้ที่ต้องการน้ำน้อย และใช้ระบบรดน้ำต้นไม้แบบน้ำหยด (Drip irrigation) ซึ่งเป็นระบบรดน้ำประสิทธิภาพสูงเพื่อประหยัดการใช้น้ำ ร่วมกับงานออกแบบภายในอาคารโดยนำน้ำทิ้งจากเครื่องส่งลมเย็นในระบบปรับอากาศ (AHU) มาใช้รดน้ำต้นไม้ร่วมด้วย และเลือกใช้สุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำรุ่นประหยัดน้ำ ทั้งนี้ยังมีการติดมิเตอร์วัดการใช้น้ำย่อยตามแต่ละประเภทเพื่อติดตามปริมาณการใช้น้ำอีกด้วย

 

  1. พลังงานและบรรยากาศ

โครงการเลือกใช้กระจกฉนวนความร้อน หรือ Insulated Glass ป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้ามาในอาคาร แต่แสงธรรมชาติยังคงเข้าถึงได้อย่างดี ช่วยทำให้ประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคารได้มากขึ้น ร่วมกับการเลือกใช้เครื่องทำความเย็น (Chiller) ที่มีประสิทธิภาพสูง และใช้หลอดไฟ LED ทำให้โครงการสามารถลดการใช้พลังงานจากอาคารต้นแบบลงได้ถึง 25.7% นอกจากนี้มีการติดตั้งระบบ Daylight sensor บริเวณใกล้ผนังกระจกรอบอาคาร ร่วมกับมีระบบควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างจากส่วนกลาง (Lighting Control) ตาม ASHRAE 90.1-2010 จากมาตรฐาน LEED ที่ช่วยทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานมากขึ้นอีกด้วย

 

  1. วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง

โครงการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยในช่วงก่อสร้างอาคารเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิล (Recycled Content) ทั้งหมด 25.9% ของมูลค่าวัสดุโครงการ และระหว่างเปิดใช้งานอาคารแล้วโครงการได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับจัดเก็บขยะรีไซเคิล และขยะอันตรายต่างๆ ไว้อย่างเพียงพอต่อทั้งผู้เช่าและผู้ใช้อาคาร

 

  1. คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร

เนื่องจากโครงการคำนึงถึงสุขภาวะของผู้ใช้งานอาคารเป็นหลัก จึงติดตั้งระบบเติมอากาศบริสุทธิ์ที่สามารถเติมอากาศได้มากกว่าที่มาตรฐาน ASHRAE 62.1-2010 กำหนดถึง 30% พร้อมติดตั้งแผ่นกรองอากาศ MERV16 ที่บริเวณช่องนำอากาศเข้า เพื่อกรองฝุ่นและ PM2.5 ในส่วนของการเลือกใช้วัสดุภายในอาคารทั้งหมดเป็นวัสดุที่ปล่อยสารพิษต่ำ (Low-emitting material) ทั้งสี สารเคลือบ กาว ยาแนว ฉนวน และฝ้าเพดาน นอกจากนี้โครงการยังคำนึงถึงผู้ใช้งานในแง่ของการเชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยออกแบบให้ผู้เช่าและผู้ใช้งานอาคารมองเห็นทิวทัศน์ภายนอกอาคาร (Good views) ได้มากกว่า 75% ของพื้นที่ใช้งานประจำ ในช่วงการก่อสร้างได้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมคุณภาพอากาศอย่างเคร่งครัดด้วยความร่วมมือของผู้รับเหมาก่อสร้างทุกเจ้า

 

  1. นวัตกรรม

โครงการติดตั้งระบบ Advanced monitoring system ซึ่งสามารถนับรถเข้าอาคารจอดรถ โดยใช้กล้อง License plate และระบบนับคนเข้าอาคารจากการสแกนผ่านระบบเครื่องกั้น (Turnstile) เพื่อความสะดวกของผู้ใช้อาคารและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาด้านอื่นๆ ของโครงการ

 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.parksilom.com

#ParkSilom #LEED #LEEDCertified #อาคารเขียว #GreenBuilding #Africvs #แอฟริคัส

Mater Dei School

Mater Dei School

Bangkok, Thailand

 

TREES-NC Gold Certified 2023

 

อาคารปฐมวัย โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย (อาคารงามสองยุวราชเจ้า นักเรียน) ผ่านการรับรองอาคารเขียว ระดับ Gold ในปี 2023 ตามเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่ (TREES-NC) จากสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI) เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีพื้นที่รวม 4,741.20 ตร.ม. ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย มีการออกแบบที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในประเด็นต่างๆ ดังนี้

  1. การลดการใช้พลังงานและการทำลายชั้นบรรยากาศ

โครงการมีการออกแบบเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมลงถึง 39% เมื่อเทียบกับอาคารทั่วไป โดยให้ความสำคัญกับการเลือกใช้กระจกที่มีประสิทธิภาพสูงร่วมกับการออกแบบแผงกันแดดเพื่อลดความร้อนที่จะเข้าสู่ภายในอาคาร การเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง รวมถึงการใช้พลังงานทดแทนจากแผง Solar Cell ซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 13% จากปริมาณการใช้ไฟฟ้าตลอดทั้งปี ทำให้อาคารลดการปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อมได้ถึง 55 tCO2e/ปี นอกจากนี้ อาคารได้เลือกใช้สารทำความเย็นในระบบปรับอากาศที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศและสารดับเพลิงที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

 

  1. คุณภาพสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร

โครงการมีการออกแบบให้มีระบบเติมอากาศบริสุทธ์ และติดตั้งแผ่นกรองอากาศระดับ MERV14 ในระบบปรับอากาศ เพื่อให้ภายในอาคารมีคุณภาพอากาศที่ดี ลดมลภาวะที่จะเข้ามาภายในอาคาร โดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้อาคารหลักซึ่งเป็นเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมต้น นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบแสงสว่างที่เพียงพอต่อประเภทการใช้งานตามมาตรฐานสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย (TIEA) รวมถึงการออกแบบเปลือกอาคารให้มีแผงกันแดดเพื่อลดแสงบาดตาจากธรรมชาติ และลดความร้อนที่เข้ามาสู่อาคาร

 

  1. การประหยัดน้ำ

โครงการเลือกใช้สุขภัณฑ์และก๊อกประหยัดน้ำ รวมถึงมีการติดตั้งมาตรวัดการใช้น้ำย่อยสำหรับการใช้น้ำแต่ละประเภท ได้แก่ น้ำจากสุขภัณฑ์และก๊อกน้ำ น้ำที่ใช้ในการรดน้ำต้นไม้ และน้ำดื่ม

 

  1. วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง

โครงการเลือกใช้วัสดุประเภทกาว ยาแนว สี และสารเคลือบที่มีสารพิษต่ำ (Low-VOC) รวมถึงเลือกใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบของวัสดุรีไซเคิลมากกว่า 10% และวัสดุพื้นถิ่นหรือวัสดุภายในประเทศมากกว่า 30% ของมูลค่าวัสดุก่อสร้าง เพื่อลดการใช้วัสดุใหม่และลดปริมาณการเกิดขยะ นอกจากนี้ โครงการมีการบริหารจัดการขยะที่เกิดจากการก่อสร้าง โดยสามารถนำขยะไปรีไซเคิลหรือใช้ซ้ำได้มากกว่า 90% ของปริมาณขยะทั้งหมด

 

  1. พื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งเชิงนิเวศของโครงการ

โครงการมีพื้นที่สีเขียวมากกว่า 40% ของพื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศของโครงการ ซึ่งเป็นพื้นที่ซึมน้ำที่ช่วยลดปัญหาน้ำท่วม และยังปลูกพืชพรรณพื้นถิ่น (native plants) ที่ไม่เป็นสายพันธ์รุกราน (Invasive plants) รวมถึงตัวอาคารมีการเลือกใช้วัสดุสีสว่าง ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดการเกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Urban Heat Island)

 

  1. สนับสนุนการลดการใช้รถยนต์

โครงการตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร ซึ่งแวดล้อมไปด้วยสาธารณูปการต่างๆ และสามารถเข้าถึงได้สะดวกด้วยระบบขนส่งมวลชนที่หลายหลาย ทั้งสถานีรถไฟฟ้า (BTS) และป้ายรถโดยสารประจำทางหลายสาย ภายในระยะ 500 เมตรจากที่ตั้งโครงการ นอกจากนี้ โครงการมีการสนับสนุนให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวที่เดินทางมาคนเดียว โดยออกแบบให้มีช่องจอดสำหรับรถยนต์ที่ใช้ร่วมกัน (Carpool)

 

  1. การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบโครงการ

โครงการได้จัดทำมาตรการป้องกันการสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงการก่อสร้าง ทั้งมลภาวะทางน้ำ เช่น ป้องกันการกัดกร่อนของพื้นดินและการตกตะกอนของดิน และทางอากาศ เช่น การป้องกันฝุ่นละออง เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเดือดร้อนต่อสภาพแวดล้อมและพื้นที่ในบริเวณข้างเคียง อาคารมีพื้นที่คัดแยกขยะแบ่งตามประเภทขยะเป็น 6 ประเภท  ได้แก่ ขยะเปียก ขยะอันตราย กระดาษ โลหะ แก้ว และพลาสติก เพื่อบริหารจัดการขยะและส่งเสริมการนำเศษวัสดุกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงกำหนดตำแหน่งเครื่องระบายความร้อนของระบบปรับอากาศให้ห่างจากที่ดินข้างเคียงมากกว่า 4 เมตร เพื่อลดการรบกวนเพื่อนบ้านจากไอร้อนที่ปล่อยออกนอกอาคาร นอกจากนี้ โครงการได้มีการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าที่ระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบให้สามารถลดการใช้พลังงานลงตลอดช่วงที่มีการใช้งานอาคาร

Thai Health Promotion Foundation

อาคารศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

Bangkok, Thailand

 

• Fitwel 3-Star Rating Certified, Workplace: Single Tenant Building (ST), 2023

 

อาคารศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคาร Fitwel ระดับ 3-star ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ในประเภทอาคาร Workplace: Single Tenant Building (ST) เมื่อเดือนเมษายน 2023 โดยมีแนวคิดและนโยบายที่ส่งเสริมความเป็นอยู่และสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้งาน ดังต่อไปนี้

  1. Location ตำแหน่งที่ตั้งโครงการ

ที่ตั้งอาคารอยู่ใกล้กับป้ายรถประจำทาง รองรับรถประจำทางหลายสาย สะดวกต่อการเข้าถึงอาคาร อาคารตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่หลากหลาย ทั้งสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ในซอยสวนพลู ร้านอาหารต่าง ๆ ร้านสะดวกซื้อ ธนาคาร สถานศึกษาระดับอนุบาล และสถานศึกษาประถมศึกษาหลายแห่ง

 

  1. Building access การเข้าถึงโครงการ

โครงการมีการทำแบบสำรวจรูปแบบการเดินทางของผู้ใช้อาคาร เพื่อเก็บเป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้อาคาร โดยมีบริการ Shuttle Bus ไปยังสถานีรถไฟใต้ดิน MRT ลุมพินีและสถานีรถ BRT เทคนิคกรุงเทพ อำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานและผู้มาติดต่อ รวมถึงมีบริการที่จอดรถยนต์ Carpool สำหรับพนักงานที่เดินทางมาด้วยรถยนต์คันเดียวกัน นอกจากนี้ โครงการยังจัดให้มีที่จอดจักรยานและมีบริการให้ยืมจักรยานสำหรับพนักงานในอาคาร เพื่อใช้เดินทางในระยะใกล้ ๆ กับอาคาร  รวมถึงล็อคเกอร์เก็บของในห้องน้ำให้แก่ผู้ใช้ห้องอาบน้ำ ที่เดินทางมายังอาคารด้วยการเดินหรือปั่นจักรยานมาอีกด้วย

 

  1. Outdoor spaces พื้นที่ภายนอกของโครงการ

โครงการมีการออกแบบโดยใช้แนวคิดการวางผังอาคารพื้นถิ่นในเขตอากาศร้อนชื้นเช่นเดียวกับกลุ่มเรือนไทย เน้นการเปิดโล่งระหว่างหมู่อาคาร ให้ลมสามารถไหลผ่านพื้นที่ภายในอาคารได้จากทุกทิศทางอย่างมีประสิทธิภาพผ่านพื้นที่โถงกลาง โถงบันได และทางเดินต่าง ๆ ซึ่งไม่ว่าลมจะมาทางทิศทางใด พื้นที่ภายในโถงกลางจะยังคงได้รับลมธรรมชาติ สอดคล้องไปกับการออกแบบให้มีที่นั่งตามพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อรับลมและสร้างบรรยากาศที่อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ เช่น การปลูกต้นไม้และการจัดสวนบริเวณพื้นที่ส่วนกลางทุกชั้นของอาคาร บริเวณชั้นดาดฟ้าของโครงการ ยังมีบริเวณสำหรับปลูกพืชผักสวนครัว (Organic Farm) อีกด้วย นอกจากนี้ ด้วยที่ตั้งอาคารที่อยู่ติดกับสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ซึ่งเป็นสวนสาธารณะขนาดกลางที่มีพื้นที่สีเขียว พื้นที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง เครื่องออกกำลังกลายกลางแจ้ง และเส้นทางเดิน-วิ่งที่หลากหลาย ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานพื้นที่ภายในอาคารเชื่อมต่อกับพื้นที่ภายนอกอาคาร (Outdoor spaces) ได้อย่างสะดวก

 

  1. Entrances and ground floor ทางเข้าและพื้นที่บริเวณชั้น 1

บริเวณทางเข้าอาคารและภายในพื้นที่โถงกลาง ได้รับการออกแบบแสงสว่างให้เหมาะสมในช่วงเวลากลางคืน ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยในการสัญจรจากอาคารในช่วงเวลากลางคืน ร่วมกับทางอาคารเองมีการแนะนำและติดตั้งแผนที่แสดงระยะจากอาคารไปยังร้านค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณใกล้เคียงอาคาร ไว้ตรงจุดที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนบริเวณภายในอาคาร โครงการยังมีการออกแบบทางเข้าอาคาร ให้มีการเชื่อมต่อกับสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เพื่อให้ผู้ใช้อาคารสามารถเดินต่อเนื่องไปยังสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้

 

  1. Stairs บันไดของอาคาร

บันไดหลักของอาคาร ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของโครงการ สามารถมองเห็นได้จากพื้นที่โถงกลาง โดยบันไดหลักนี้ถูกออกแบบให้ลูกตั้ง-ลูกนอนเดินสบาย มีระยะราวกันตกที่เหมาะสมกับการใช้งาน มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของการใช้บันไดให้ผู้ใช้อาคารทราบ รวมถึงมีการติดตั้งระบบเสียงดนตรี กราฟิกต่าง ๆ และประติมากรรมบริเวณบันได เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้งานอาคารใช้บันไดเป็นทางสัญจรหลักแทนการใช้ลิฟต์

 

  1. Indoor environment สภาพแวดล้อมภายในอาคาร

นอกจากจะคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว อาคารยังคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายในอาคารเป็นสำคัญ โดยห้องเก็บสารเคมีถูกออกแบบให้มีผนังกั้นแยกจากพื้นที่ส่วนอื่น ๆ และมีการระบายอากาศอย่างเหมาะสม รวมถึงอาคารมีนโยบายต่าง ๆ เพื่อควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร ทั้งนโยบายห้ามสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และการใช้สารเสพติดทุกชนิดในพื้นที่โครงการ นโยบายจัดซื้อสารทำความสะอาดที่คำนึงถึงคุณภาพอากาศภายในและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นโยบายการจัดการแมลงโดยไม่ใช้สารเคมีในกรณีไม่จำเป็น นโยบายเกี่ยวกับการจัดการระบบระบายอากาศในอาคาร การทำความสะอาด การเลือกใช้วัสดุเพื่อปรับปรุงอาคาร และรักษาคุณภาพอากาศภายในระหว่างการก่อสร้าง นอกจากนี้ อาคารยังมีการวัดค่าคุณภาพอากาศตามเวลาจริง เพื่อแสดงค่าคุณภาพอากาศภายในอาคารให้ผู้ใช้งานอาคารได้ทราบเสมอ

 

  1. Workspaces พื้นที่ทำงาน

พื้นที่ทำงานมีการออกแบบให้มีกระจกที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ภายนอกอาคาร มีการติดตั้งม่านที่ผู้ใช้งานอาคารสามารถควบคุมเองได้ ในช่วงเวลาที่มีแสงมากเกินไป และผู้ใช้งานสามารถปรับอุณหภูมิอากาศให้สอดคล้องกับสภาวะน่าสบาย โดยสามารถโทรแจ้งส่วนบริหารอาคารให้ปรับ-ลดอุณหภูมิได้ตามความเหมาะสม

 

  1. Shared spaces พื้นที่ส่วนกลาง

พื้นที่ส่วนกลางถูกออกแบบให้รองรับการทำกิจกรรมและการพักผ่อนหลายรูปแบบ ทั้งพื้นที่บริเวณโถงกลาง ห้องอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ ห้องสำหรับให้นมบุตร (Lactation Room) ห้องเงียบ (Quiet Room) และห้องออกกำลังกาย (Fitness) ซึ่งมีทั้งเครื่องออกกำลังกายที่เน้นการเสริมความแข็งแรงและการทำงานของหัวใจ (Cardio) และเครื่องออกกำลังกายฝึกความแข็งแรง (Strength)  อย่างครบครัน รวมถึงโครงการได้เตรียมโปรแกรมเพื่อสุขภาพที่ผู้ใช้อาคารและบุคคลภายนอกสามารถเข้าร่วมได้ เช่น การออกกำลังกาย การเสวนาให้คำปรึกษาต่าง ๆ และการอบรมทำอาหารสุขภาพ เป็นต้น อีกทั้งโครงการจัดให้มีโปรแกรมการขายสินค้าปลอดสารพิษจากเกษตรกร เช่น ผลไม้สดและผักพื้นบ้านอีกด้วย นอกจากนี้ ห้องน้ำและพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมดได้มีการติดป้ายให้ความรู้เรื่องวิธีการล้างมือ เพื่อสุขอนามัยที่ดีของผู้ใช้งาน โดยทางอาคารจัดให้มีการทำความสะอาดรายชั่วโมงและการทำความสะอาดใหญ่ทุกสัปดาห์

 

  1. Water supply น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

อาคารมีจุดบริการน้ำดื่มทุกชั้น โดยจุดจ่ายน้ำดื่มและอ่างล้างมือถูกออกแบบให้ถูกต้องตามกฎหมายผู้พิการและหลักการออกแบบเพื่อทุกคน โครงการใช้น้ำดื่มที่มีคุณภาพปลอดภัยกับผู้ใช้งานอาคาร มีผลทดสอบคุณภาพน้ำผ่านตามมาตรฐานที่ Fitwel กำหนด

 

  1. Prepared food areas พื้นที่เตรียมอาหาร

สำหรับนโยบายด้านโภชนาการ โครงการมีน้ำดื่มบริการผู้ใช้อาคารทุกคนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและมีนโยบายอื่น ๆ เกี่ยวกับอาหารทั้งข้อกำหนดด้านคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ปริมาณน้ำตาล ปริมาณน้ำมัน การนำเสนออาหารประเภทผักและผลไม้ รวมถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการขยะ  การใช้ภาชนะครั้งเดียวทิ้ง (Single-use items) ที่ต้องเป็นวัสดุรีไซเคิล (Recycled) หรือวัสดุที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ (Biodegradable) เป็นต้น มีข้อกำหนดด้านความสะอาดของอาหารและความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยมีการบังคับใช้ข้อกำหนดกับร้านค้าภายในอาคาร นอกจากนี้ โครงการยังมีการขายอาหารสุขภาพ เช่น สลัด ในราคาที่ถูกกว่าอาหารประเภทอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ

 

  1. Emergency preparedness การเตรียมรับมือเหตุฉุกเฉิน

โครงการมีสัญญาณเตือนภัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร มีป้ายบอกทางหนีไฟ มีการจัดทำแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ระบุถึงเหตุฉุกเฉินที่เป็นไปได้ แนวทางรับมือ ผู้รับผิดชอบ และจุดรวมพล เพื่อรับมือหากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น มีการส่งเจ้าหน้าที่ของอาคารให้ไปอบรมเพื่อเป็นผู้ปฏิบัติการกู้ชีพฉุกเฉิน (First Responder) สำหรับช่วยเหลือผู้ใช้อาคารกรณีมีปัญหาสุขภาพในกรณีฉุกเฉินอีกด้วย

 

#สสส #ThaiHealthCenter #GreenBuilding #Fitwel # FitwelCertification #อาคารเขียว #อาคารเพื่อสุขภาวะที่ดี #AFRICVS

Safebox Office Bangkok

อาคาร Safebox Office Bangkok

Bangkok, Thailand

 

Fitwel 1-Star Rating Certified, Multi-Tenant Base Building (MTBB), 2023

 

อาคาร Safebox Office Bangkok ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารเพื่อสุขภาวะที่ดี Fitwel ระดับ 1-star ประเภทอาคารสำนักงานให้เช่า Multi-Tenant Base Building (MTBB) ในเดือนมกราคม ปี 2023 เป็นอาคาร Serviced office ให้เช่าใจกลางเมืองกรุงเทพฯ และที่ตั้งของสำนักงานบริษัท AFRICVS

อาคารได้รับการรีโนเวทจากโกดังเก่าให้เป็นอาคารสำนักงาน 3 ชั้น พื้นที่รวม 2,050 ตารางเมตร จุดเด่นของอาคารคือการออกแบบโดยเก็บรักษาโครงสร้างเดิมของอาคารไว้ให้มากที่สุด และออกแบบด้วยการนำแนวคิดอาคารเขียวมาผนวกเข้ากับการรีโนเวทอาคาร เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด เช่น การวมน้ำทิ้งจากระบบปรับอากาศไว้สำหรับน้ำรดต้นไม้ การติและป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร รวมไปถึงการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นไฟฟ้า และยังมีแนวคิดด้านการออกแบบและนโยบายที่คำนึงถึงสุขภาวะของผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อมในประเด็นต่างๆ ดังนี้

 

1.Location ตำแหน่งและที่ตั้งโครงการ

อาคาร Safebox Office สามารถเข้าถึงได้ด้วยระบบขนส่งสาธารณะหลากหลายประเภท ทั้งป้ายรถประจำทางใกล้ทางเข้าอาคาร และสามารถเดินไปยังสถานีรถไฟใต้ดิน (MRT) สถานีหัวลำโพง ได้ในระยะ 800 เมตร นอกจากนี้ ทำเลที่ตั้งอาคารยังอยู่ในพื้นที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก และสถานที่สาธารณะที่หลากหลายอีกด้วย ทั้งสวนสาธารณะอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ คอมมูนิตี้มอลล์ I’m park โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถมและมัธยมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฟิตเนสเซนเตอร์ และร้านอาหารต่างๆ มากมายบนถนนบรรทัดทอง

 

2.Building access การเข้าถึงโครงการ

โครงการจัดให้มีห้องอาบน้ำและล็อคเกอร์เก็บของในห้องน้ำ สำหรับผู้ใช้อาคารที่เดินทางมายังโครงการด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน รวมถึงจัดทำแบบสำรวจรูปแบบการเดินทางของผู้ใช้อาคาร เพื่อเก็บเป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก และปรับปรุงบริการต่างๆให้เหมาะสมกับความต้องการของพนักงานและผู้ใช้อาคาร

 

3.Outdoor spaces พื้นที่ภายนอกของโครงการ

อาคารตั้งอยู่ตรงข้ามกับอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ซึ่งเป็นสวนสาธารณะขนาดกลางที่มีพื้นที่สีเขียว พื้นที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง เครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง และเส้นทางเดิน-วิ่งที่หลากหลาย ทำให้ผู้ใช้งานอาคารสามารถเข้าถึงพื้นที่พักผ่อนและทำกิจกรรมภายนอกอาคาร (Outdoor spaces) ได้สะดวก

 

4.Entrances and ground floor ทางเข้าและพื้นที่บริเวณชั้น 1

อาคารมีการออกแบบแสงสว่างบริเวณทางเข้าอาคารชั้น 1 ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยในการสัญจรเข้า-ออกอาคารในช่วงเวลากลางคืน รวมถึงแนะนำและติดตั้งแผนที่แสดงระยะจากอาคารไปยังร้านค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณใกล้เคียงอาคาร ตรงบริเวณโถงทางเข้าอาคาร ที่ผู้ใช้งานอาคารสังเกตเห็นได้ชัดเจน

 

5.Stairs บันไดของอาคาร

โถงบันไดหลักของอาคาร เชื่อมต่อกับพื้นที่ของคารทั้ง 3 ชั้น บันไดหลักของอาคารทำหน้าที่เชื่อมต่อทางเข้าอาคารไปยังพื้นที่สำนักงานให้เช่าทั้ง 3 ชั้น โดยมีต้นไม้เป็นองค์ประกอบเพื่อสร้างบรรยากาศให้กับพื้นที่ส่วนกลาง และสนับสนุนให้ผู้ใช้งานอาคารใช้บันไดเป็นทางสัญจรหลักแทนการใช้ลิฟต์ และมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของการใช้บันได ให้ผู้ใช้อาคารทราบ โดยบันไดหลักนี้ถูกออกแบบให้ลูกตั้ง-ลูกนอนเดินสบาย และมีระยะราวกันตกที่เหมาะสมกับการใช้งาน

 

6.Indoor environment สภาพแวดล้อมภายในอาคาร

มีการออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายในอาคารเป็นสำคัญ มีการกำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร ได้แก่ การห้ามสูบบุหรี่ภายในอาคาร การจัดซื้อสารทำความสะอาดที่คำนึงถึงคุณภาพอากาศภายในอาคารและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการระบบระบายอากาศในอาคาร การทำความสะอาดพื้นที่ภายในอาคาร การเลือกใช้วัสดุเพื่อปรับปรุงอาคาร และรักษาคุณภาพอากาศภายในระหว่างการก่อสร้าง รวมถึงจัดให้มีห้องเก็บสารเคมีแยกจากพื้นที่อื่นๆ ที่มีการระบายอากาศอย่างเหมาะสม

 

7.Workspaces พื้นที่ทำงาน

พื้นที่ส่วนกลางมีกระจกที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ภายนอกได้ และมีเฟอร์นิเจอร์สำนักงานแบบ active furnishing เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เช่าและผู้ใช้งานอาคาร ในการทำงาน ประชุมพูดคุย หรือพักผ่อนในช่วงเวลาพักเบรกระหว่างวัน

 

8.Shared spaces พื้นที่ส่วนกลาง

พื้นที่ส่วนกลางถูกออกแบบให้รองรับกิจกรรมและการพักผ่อนหลายรูปแบบ ทั้งห้องเงียบสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวและงดใช้เสียงดัง ห้องอเนกประสงค์สำหรับทำกิจกรรมเพื่อการผ่อนคลายต่างๆ รวมถึงพื้นที่เตรียมอาหารและรับประทานอาหาร  ยิ่งไปกว่านั้นอาคารยังได้เตรียมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพให้ผู้ใช้อาคารสามารถเข้าร่วมได้ เช่น กิจกรรมโยคะ กิจกรรมสังสรรค์ระหว่างผู้คนในอาคาร เป็นต้น นอกจากนี้ อาคารได้มีการติดป้ายให้ความรู้เรื่องวิธีการล้างมือและรักษาความสะอาดในห้องน้ำ  และมีการทำความสะอาดรายชั่วโมงและการทำความสะอาดใหญ่ทุกสัปดาห์ เพื่อสุขอนามัยที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร

 

9.Water supply น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

อาคารจัดให้มีจุดบริการน้ำดื่มทุกชั้น และจุดจ่ายน้ำดื่มและอ่างล้างมือถูกออกแบบให้ถูกต้องตามกฎหมายผู้พิการและหลักการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้ใช้งานทุกคน

 

10.Prepared food areas พื้นที่เตรียมอาหาร

อาคารมีนโยบายในการส่งเสริมโภชนาการของผู้ใช้อาคาร โดยการเตรียมจุดบริการน้ำดื่มให้ผู้ใช้อาคารทุกคนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และมีนโยบายการเตรียมอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ในกรณีที่มีการจัดกิจกรรมพิเศษภายในอาคาร

 

11.Emergency preparedness การเตรียมรับมือเหตุฉุกเฉิน

โครงการมีการส่งเจ้าหน้าที่อาคารไปอบรมเพื่อเป็นผู้ปฏิบัติการกู้ชีพฉุกเฉิน (First Responder) สำหรับช่วยเหลือผู้ใช้อาคารเมื่อปัญหาสุขภาพเกิดขึ้นในกรณีฉุกเฉิน มีการจัดทำแผนและแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงติดตั้งป้ายบอกทาง ระบบสัญญาณเตือนภัย และจุดรวมพลต่างๆ

 

ศึกษาข้อมูลโครงการเพิ่มเติม: https://www.safeboxbangkok.com/

เครดิตภาพถ่าย: Wawaphoto

#Safeboxofficebangkok #Safebox #GreenBuilding #Fitwel # FitwelCertification #อาคารเพื่อสุขภาวะที่ดี #AFRICVS

ANIL Sathorn 12

โครงการอนิล สาทร 12 (Anil Sathorn 12)

BANGKOK, THAILAND
WELL v1: Multifamily residential, Gold Certified, 2022

 

โครงการอนิล สาทร 12 โดย บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ผ่านการรับรองมาตรฐาน WELL v1 ประเภท Multifamily residential (อาคารที่พักอาศัย) ระดับ Gold จากสถาบัน International WELL Building Institute (IWBI) ในวันที่ 10 กันยายน 2022 ถือเป็นอาคารคอนโดมิเนียมแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเภทอาคารที่พักอาศัย และเป็นอาคารแรกในประเทศไทยที่ได้รับรองมาตรฐาน WELL

WELL เป็นเกณฑ์การประเมินอาคารที่มุ่งเน้นสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้อาคาร และมีขั้นตอนในการประเมินผ่านการตรวจวัดคุณภาพที่โครงการจริงเมื่ออาคารก่อสร้างเสร็จ (Performance Verification, PV)

WELL v1 แบ่งออกเป็น 7 แนวคิด ได้แก่ อากาศ น้ำ โภชนาการ แสงสว่าง การออกกำลังกาย ภาวะน่าสบาย และจิตใจ โดยอาคารที่เข้ารับการประเมินมาตรฐาน WELL v1 นอกจากจะต้องมุ่งเน้นการออกแบบ การก่อสร้าง และนโยบายการใช้อาคารให้ผ่านตามข้อกำหนดแล้วนั้น ยังต้องคำนึงถึงการควบคุมคุณภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในโครงการตลอดระยะเวลาก่อสร้างซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการ PV ที่จะมีการตรวจวัดคุณภาพของ อากาศ น้ำ แสงสว่าง ภาวะน่าสบาย และเสียง ซึ่งการ PV จะเกิดโดยองค์กรบุคคลที่สามที่ได้รับอนุมัติจาก IWBI (Performance Testing Organization, PTO)
โครงการอนิล สาทร 12 (Anil Sathorn 12) มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการออกแบบ ดังนี้

  1. AIR (อากาศ): ออกแบบประตูหลักโครงการเป็นประตู 2 ชั้น และมีพรมดักฝุ่นยาว 3 เมตร ทุกประตูทางเข้า เพื่อลดฝุ่นจากภายนอกเข้ามายังภายในอาคาร ทั้งโครงการมีระบบเติมอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกผ่านเครื่อง ERV ที่ติดตั้งแผ่นกรองอากาศระดับ MERV16 เพื่อลดฝุ่น PM2.5 ควบคู่ไปกับการใช้วัสดุก่อสร้างและ Furniture Built-in ที่มีค่าสารระเหยต่ำ (Low VOC) ตามข้อกำหนด รวมไปถึงการไม่ใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน ตะกั่ว และปรอท
  2. WATER (น้ำ): โครงการติดตั้งระบบกรองน้ำดื่มให้ทุกห้องพักและพื้นที่ส่วนกลาง
  3. NORISHMENT (โภชนาการ): โครงการเลือกขนาดอ่างล้างมือที่มีระยะเหมาะสม รวมถึงขนาดตู้เย็นที่เหมาะสมในทุกห้องพัก นอกจากนี้โครงการมีการให้ข้อมูลความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้อยู่อาศัยอย่างสม่ำเสมอ
  4. LIGHT (แสง): โครงการมีการออกแบบแสงสว่างให้เพียงพอต่อประเภทการใช้งานห้องนั้นๆ และหลอดไฟทั้งโครงการมีค่า UGR < 19 (Unified Glare Rating) เพื่อลดแสงบาดตา รวมถึงยังคำนึงถึงคุณภาพการนอนของผู้ใช้อาคารผ่านการติดตั้งผ้าม่าน Blackout shade และ Nighttime Navigation Lighting เพื่อลดแสงรบกวนในเวลานอนและให้แสงสว่างจากที่นอนไปยังพื้นที่อื่นๆ
  5. FITNESS (การออกกำลังกาย): โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายโดยจัดเตรียมห้องฟิตเนส, ห้องโยคะ, ห้องซาวน่า ห้องอบไอน้ำ, สระว่ายน้ำ, และที่จอดจักรยาน รวมถึงการจัดจ้างเทรนเนอร์ให้ผู้ใช้อาคารอย่างสม่ำเสมอ ครอบคลุมรูปแบบและเทคนิคการออกกำลังกายที่แตกต่างกัน
  6. COMFORT (ภาวะน่าสบาย): ทุกพื้นที่ในโครงการถูกออกแบบให้มีสภาวะน่าสบายผ่านตามข้อกำหนด ASHRAE Standard 55-2013 และคำนึงถึงความสบายเรื่องเสียงผ่านการติดตั้งกรอบอาคารที่มีประสิทธิภาพในการลดเสียงจากภายนอก ควบคู่ไปกับการเลือกใช้เครื่องปรับอากาศและ ERV ที่ทำให้เกิดเสียงรบกวนต่ำกว่า 40 dBA
  7. MIND (จิตใจ): โครงการมีการออกแบบโดยดึงเอาธรรมชาติเข้ามาใช้ในโครงการทั้งโทนสี และลวดลาย และเพื่อให้ผู้ใช้งานอาคารสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ WELL โครงการจัดทำคู่มือ WELL Building Standard® Guide เผยแพร่บนเว็บไซต์

 

โครงการอนิล สาทร 12 ได้รับ WELL v1 Certified ระดับ Gold ตึกแรกในประเทศไทย เกิดขึ้นจากความเข้าใจในมาตรฐานและการมีส่วนร่วมของทีมงานโครงการอนิลสาธร 12 ทั้งเจ้าของโครงการ, ผู้ออกแบบ, ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง, ผู้รับเหมา, การตลาด รวมไปถึงผู้บริหารอาคาร ทุกคนล้วนมีส่วนช่วยในความสำเร็จครั้งนี้ของโครงการ

 

เครดิตภาพถ่าย: Anil Sathorn 12

#ANILSathorn12 #WELLcertified #WELL #WELLv1 #WELLstandard #WeAreWELL #AFRICVS

The PARQ

The PARQ

Bangkok, Thailand

 

• LEED v4 BD+C: Core and Shell, Gold Level, 2021
• WELLv1: WELL Core, Gold Level, 2023

 

The PARQ โครงการมิกซ์ยูสแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากทั้งมาตรฐาน LEED (LEED BD+C: Core & Shell, Version 4) ระดับ Gold ในปี ค.ศ.2021 และ มาตรฐาน WELL (WELL Core, Version 1) ระดับ Gold ในปีค.ศ.2023 ซึ่งแสดงถึงเจตนารมณ์ของโครงการที่ต้องการให้ THE PARQ เป็นโครงการที่ดีต่อ “สิ่งแวดล้อม” และ “ผู้ใช้งานอาคาร” อย่างแท้จริง

 

โครงการ The PARQ ตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษก บริเวณสี่แยกคลองเตย เป็นอาคาร 6 ชั้น มีพื้นที่อาคารรวม 100,617 ตร.ม. ออกแบบภายใต้คอนเซ็ปต์ Life Well Balanced ที่เน้นการบูรณาการของสถาปัตยกรรมล้ำสมัย การประหยัดพลังงาน การออกแบบอย่างยั่งยืน และบริการสมาร์ทเซอร์วิสแบบครบวงจรเข้าไว้ด้วยกัน โดยสะท้อนผ่าน 7 หมวดมาตรฐานอาคารเขียว LEED ได้แก่ ที่ตั้งโครงการเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Site) การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (Water Efficiency) พลังงานและบรรยากาศ (Energy and Atmosphere) วัสดุและทรัพยากร (Material and Resources) คุณภาพสภาพแวดล้อมในอาคาร (Indoor Environmental Quality) นวัตกรรมในการออกแบบ (Innovation in Design) และความสำคัญเร่งด่วนของภูมิภาค (Regional Priority) และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานสะท้อนผ่านมาตรฐาน WELL 7 ด้าน ได้แก่ คุณภาพอากาศ (Air) คุณภาพน้ำดื่มน้ำใช้ (Water) สุขภาวะทางแสง (Light) สุขภาวะทางด้านอาหาร (Nutrition) สุขภาพร่างกาย (Movement) ความสบาย (Comfort) และสุขภาวะทางจิตใจ (Mind) ซึ่งความพิเศษของการตรวจประเมินโครงการตามมาตรฐาน WELL จะมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการรับรองจากทาง IWBI (International WELL Building Institute) เข้ามาตรวจวัดคุณภาพที่หน้างาน ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้อาคารจะได้รับประโยชน์จากการใช้งานอาคารที่คำนึงถึงผู้ใช้อาคารทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

 

โครงการ The PARQ ได้รับการรับรองครอบคลุมมาตรฐาน LEED และ WELL ดังต่อไปนี้

  1. ที่ตั้งโครงการ
  • ที่ตั้งโครงการที่เชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นการเพิ่มทางเลือกการเข้าถึงอาคาร ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว
  • โครงการมีจุดบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และที่จอดรถจักรยานและห้องอาบน้ำ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว และยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนอีกด้วย

 

  1. พื้นที่สีเขียว พื้นที่ภายนอกอาคาร และพื้นที่ออกกำลังกาย
  • โครงการมีการจัดสวนขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง
  • พื้นที่ภายนอกอาคารมีร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ บรรยากาศร่มรื่น มีที่สำหรับนั่งพัก มีทางเดินที่เหมาะกับการเดินกึ่งออกกำลังกาย ส่งเสริมให้มีการขยับเคลื่อนไหวร่างกาย ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจากการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน
  • โครงการลดการสะสมความร้อนที่ทำให้เกิดภาวะเกาะความร้อนในเมือง (Urban heat island) ให้กับกรุงเทพ ด้วยการเลือกใช้วัสดุปูพื้นถนนและทางเดินสีอ่อนสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี

 

  1. คุณภาพอากาศภายในอาคาร
  • การติดตั้งระบบกรองอากาศประสิทธิภาพสูงเพื่อกรองฝุ่น 5 และติดตั้งระบบ UV เพื่อฆ่าเชื้อโรคให้อากาศสะอาดอยู่เสมอ พร้อมระบบเซ็นเซอร์เพื่อติดตามและควบคุมคุณภาพอากาศ และออกแบบอาคารให้มีความดันเป็นบวก เพื่อลดการรั่วไหลของอากาศที่ปนเปื้อนมลภาวะจากภายนอก
  • โครงการ The PARQ ได้รับการออกแบบให้มีการเติมอากาศบริสุทธิ์เข้ามาภายในอาคารสูงกว่าค่ามาตรฐานสากลถึง 30%
  • การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีการระเหยของสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ในปริมาณต่ำ ทำให้อากาศภายในอาคารสะอาด และลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคทางเดินหายใจและมะเร็ง
  • การติดตั้ง CO2 sensors เพื่อควบคุมการเติมอากาศบริสุทธิ์ให้เหมาะสมกับกิจกรรมการใช้งานและจำนวนผู้ใช้งานของแต่ละพื้นที่ในอาคาร ณ ช่วงเวลาต่างๆ

 

  1. คุณภาพน้ำดื่ม
  • การติดตั้งจุดบริการน้ำดื่มสะอาดที่ได้มาตรฐาน ผ่านการกรองด้วยระบบ RO และผ่านการทดสอบคุณภาพน้ำดื่มตามมาตรฐาน WELL

 

  1. สุขภาวะทางด้านอาหาร
  • โครงการมีสวนผักผลไม้ในพื้นที่ Q Garden สำหรับให้ผู้เช่าสำนักงานสามารถปลูกผักเพื่อรับประทานกินเองได้ นอกจากนี้โครงการตั้งใจคัดสรรร้านอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้กับผู้ใช้อาคาร ทั้งร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ร้านขนมและของว่างที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป (Non-processed food) และร้านอาหารที่เน้นเมนูผักผลไม้สด

  1. สุขภาวะทางแสง
  • การออกแบบโคมไฟในพื้นที่ออฟฟิศโดยการใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน LED ร่วมกับการติดตั้ง Daylight Sensor ที่ควบคุมให้หลอดไฟปิดอัตโนมัติในขณะที่มีการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคาร ออกแบบโคมไฟให้มีอัตราความจ้าของแสง (Unified Glare Rating) ต่ำกว่า 19 เพื่อลดการเกิดแสงจ้าบาดตาในขณะทำงาน และเป็นการถนอมสายตาผู้ใช้งานอาคาร นอกจากนั้นยังมีการใช้โคมไฟที่คำนึงถึงนาฬิกาชีวภาพซึ่งจะส่งผลดีต่อวงจรการนอนหลับในเวลากลางคืน

  1. การส่งเสริมสุขภาพร่างกาย
  • การออกแบบแบบ Touch-free ตั้งแต่ประตูทางเข้า และติดตั้งระบบคัดกรองคนเข้าอาคารแบบลดการสัมผัส เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรค
  • การส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพ ด้วยห้องสมุดสุขภาพออนไลน์ จัดให้มีกิจกรรมหลากหลาย และประชาสัมพันธ์ผ่าน Digital Media
  • การเลือกร้านค้าปลีกระดับพรีเมียม ซึ่งครอบคลุมร้านอาหาร ร้านค้า ฟิตเนส สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพและความงามมากมาย ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการสำหรับทุกไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้อาคาร ผู้มาเยือน และผู้คนที่อยู่ในบริเวณโดยรอบ ภายใต้แนวคิด “Life Well Balanced” ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและปฏิวัติรูปแบบของการทำงานและการใช้ชีวิตในเมือง

  1. ความน่าสบาย
  • ระบบปรับอากาศภายในอาคารผ่านการทดสอบการตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับระดับ Metabolism ของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกสบายในทุกๆพื้นที่
  • การป้องกันความร้อนและเสียงรบกวนจากภายนอก ด้วยการใช้กระจก 2 ชั้น ที่มีฉนวนอากาศตรงกลาง (Double Glazing) ร่วมกับการใช้ฝ้าเพดานดูดซับเสียง ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกสบาย ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน ป้องกันมลภาวะทางเสียงจากการจราจรภายนอกและเสียงสะท้อนภายในอาคาร

  1. สุขภาวะทางจิตใจ
  • การออกแบบโดยใช้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ (Biophilic design) สอดผสานกับการจัดวางชิ้นงานศิลปะ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ช่วยลดความเครียด

  1. การจัดการทรัพยากรน้ำ
  • การเลือกใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ บริเวณพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด ทำให้สามารถลดการใช้น้ำลงได้ถึง 40%
  • การนำน้ำเสียกลับมาใช้ภายในโครงการ โดยนำมาผ่านกระบวนการกรองก่อนนำไปใช้รดน้ำต้นไม้บริเวณสวน ร่วมกับระบบการรดน้ำต้นไม้แบบระบบน้ำหยด ช่วยให้สามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้เพิ่มขึ้น

 

  1. การประหยัดพลังงาน
  • โครงการเลือกใช้ระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง ติดตั้งพัดลมสมรรถนะสูงชนิด Electronically Commutated ในระบบจ่ายลมเย็น ร่วมกับการใช้ผนังกระจกอาคารแบบ Insulated Glass เพื่อลดการใช้พลังงานจากการทำความเย็น ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการลดการปล่อยคาร์บอนทางตรง
  • การติดตั้ง Lighting Sensors และ IoT Platform ช่วยปรับเพิ่ม-ลดแสงธรรมชาติให้เข้ามาภายในอาคารอย่างเหมาะสม ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างในเวลากลางวัน

 

  1. นวัตกรรม
  • โครงการติดตั้งระบบจัดการที่จอดรถอัจฉริยะ รองรับระบบการติดตามความหนาแน่นและจัดการการเข้า-ออกของรถยนต์ภายในลานจอด ทำให้ผู้ใช้งานประหยัดเวลายิ่งขึ้น
  • โครงการมีแผนการกำจัดขยะ โดยมีจุดแยกขยะรีไซเคิลที่แบ่งประเภทอย่างถูกต้องและมีพื้นที่เพียงพอ มีการติดตั้งเครื่อง Food Composter ในโครงการ ช่วยลดปัญหาขยะอาหาร (Food Waste) โดยการนำขยะเศษอาหารมาทำเป็นปุ๋ยเพื่อนำไปใช้ดูแลต้นไม้ในโครงการแทนการใช้ปุ๋ยเคมี

 

ศึกษาข้อมูลโครงการเพิ่มเติม: https://www.theparq.com/sustainability

#ThePARQ #LifeWellBalanced #LEED #LEEDCertified #WELL #WELLCertified #อาคารเขียว #GreenBuilding #WellBeing #SustainableArchitecture #Africvs #แอฟริคัส